วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ นคพนม

ประวัติจังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง

ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดนครพนมมีเนื้อที่ประมาณ 5,512.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,445,414.32 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 140 เมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) ของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแนวยาวตามฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 153 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16-18 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 104-105 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
• ทิศเหนือติดอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
• ทิศตะวันออกติดแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นพรมแดน
• ทิศใตติดอำเภอดงหลวง และอำเภอหว้าใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
• ทิศตะวันตกติดอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
• ตอนเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบ ทางตอนกลางและตะวันตกของพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มมีลักษณะเป็นทุ่งกว้างซึ่งปีใดมีฝนตกชุกจะมีสภาพน้ำท่วมขัง
• ตอนใต้

พื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำโขงเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึงส่วนทางทิศตะวันตกซึ่งอยู่ห่างออกไปพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น และที่ดอนสภาพป่าเป็นไม้เต็งรัง พื้นดินส่วนมากเป็นหินลูกรัง บางส่วนมีลักษณะเป็นเนินและที่ต่ำสลับกัน
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไป จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ รวมทั้งอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งในปี 2549 มีฝนตกประมาณ 139 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,189.5 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.5 องศาเซลเซียส
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครพนม มีรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2936 2852-66 นครพนม โทร. 0 4251 1403 สำหรับบริษัทเอกชนติดต่อ บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด โทร. 0 4252 0411 บริษัท ชัยสิทธิ์ จำกัด โทร. 0 4252 0561 และบริษัท เชิดชัย ทัวร์ จำกัด โทร. 0 4251 2098, 08 6225 6063
เครื่องบิน บริษัท พี บี แอร์ จำกัด เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนมทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. 0 4258 7207 กรุงเทพฯ โทร. 0 2261 0220-5 www.pbair.com หรือสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2356 1111, 0 2628 2000 www.thaiairways.com การเดินทางในตัวเมืองยังไม่มีรถโดยสาร หรือรถสองแถวประจำทางมีเพียงรถสามล้อเครื่อง (รถสกายแล็ป) เท่านั้น ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ราคา 20 บาท แล้วแต่ระยะทาง
ระยะทางจากตัวเมืองนครพนมไปยังอำเภอต่าง ๆ ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง
อำเภอ
จังหวัด
  1. • อำเภอเมือง 0 กิโลเมตร
  2. • ปลาปาก 44 กิโลเมตร
  3. • ท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
  4. • บ้านแพง 93 กิโลเมตร
  5. • ธาตุพนม 52 กิโลเมตร
  6. • เรณูนคร 51 กิโลเมตร
  7. • นาหว้า 93 กิโลเมตร
  8. • ศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
  9. • นาแก 78 กิโลเมตร
  10. • โพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
  11. • นาทม 130 กิโลเมตร
  12. • วังยาง 80 กิโลเมตร
• สกลนคร 93 กิโลเมตร
• มุกดาหาร 104 กิโลเมตร
• อุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
• ขอนแก่น 298 กิโลเมตร
• หนองคาย 303 กิโลเมตร

การปกครองและประชากร
ในปี 2550 จังหวัดนครพนมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,123 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอบ้านแพง อำเภอปลาปาก อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาทม และอำเภอวังยาง
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 93 แห่ง จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปี 2549 จังหวัดนครพนมมีจำนวนประชากร ทั้งสิ้น 695,351 คน เป็นชาย 346,321 คน และหญิง 349,030 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีจำนวนประชากร 88,531 คน คิดเป็นร้อยละ 12.7 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 606,820 คน หรือร้อยละ 87.3 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร
ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำ แม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดนครพนม ได้แก่
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีความลึกและยาวมาก เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยถือเอาร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต
ลำน้ำสงครามต้นกำเนิดในท้องที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านท้องที่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอศรีสงคราม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน
ลำน้ำยามต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนครไหลผ่านท้องที่ อำเภอศรีสงครามมาบรรจบ ลำน้ำสงครามที่บ้านปากยาม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม
ลำน้ำก่ำต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดนครพนม ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
ลำน้ำอูนต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนคร เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอท่าอุเทนกับอำเภอศรีสงคราม
เทือกเขาเทือกเขาที่สำคัญของจังหวัดนครพนม คือ เทือกเขาภูลังกา ซึ่งทอดผ่านเขตอำเภอบ้านแพง และเลยเข้าไปในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
สภาพทางเศรษฐกิจ
ในปี 2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดนครพนมในราคาประจำปีเท่ากับ 21,115 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 36,947 บาท สาขาการผลิตที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 31.8 คิดเป็นมูลค่า 6,722 ล้านบาท รองลงมาคือ สาขาการค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 17.8 คิดเป็นมูลค่า 3,750 ล้านบาท อันดับสามได้แก่ สาขาการศึกษา ร้อยละ 13.0 คิดเป็นมูลค่า 2,735 ล้านบาท
การคมนาคมและขนส่ง
การคมนาคมและขนส่งของจังหวัดนครพนม สามารถติดต่อได้ 3 ทาง
• ทางบกมีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด สำหรับใช้เดินทางติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก
• ทางอากาศมีสนามบินสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า อยู่ห่างจากจังหวัด 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม - สกลนคร
• ทางน้ำมีเรือยนต์ข้ามฟากระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวที่ด่านศุลกากรอำเภอเมืองนครพนม จุดผ่อนปรนที่อำเภอธาตุพนม และอำเภออื่น ๆ ที่มีเขตติดกับแม่น้ำโขง
การศึกษา สาธารณสุข และการสาธารณูปโภค
ในปีการศึกษา 2548 จังหวัดนครพนม มีโรงเรียน 539 แห่ง ครู 6,315 คน และนักเรียน 128,457 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียนประมาณ 23 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อครูประมาณ 20 คน
ด้านสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2549 มีโรงพยาบาลรัฐบาล 12 แห่ง สถานีอนามัย 151 แห่ง คลีนิค 99 แห่ง แพทย์ 48 คน ทันตแพทย์ 21 คน เภสัชกร 46 คน และพยาบาล 716 คน มีจำนวนผู้ป่วย 381,599 คน แยกเป็นผู้ป่วยใน 64,335 คน และผู้ป่วยนอก 317,264 คน
ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 157,651 ราย มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น 207.95 ล้านยูนิต
ด้านการประปา มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 14,256,900 ลูกบาศก์เมตร ผลิตน้ำได้ 5,904,640 ลูกบาศก์เมตร และมีผู้ใช้น้ำประปาจำนวน 22,262 ราย
ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีชุมสายโทรศัพท์จำนวน 20 แห่ง รวม 28,253 เลขหมาย และมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 10 แห่ง มีการขนส่งไปรษณียภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 2,127,410 ชิ้น
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 97 ตำบล 1040 หมู่บ้าน

  • อำเภอเมืองนครพนม เมืองสุขสงบติดริมแม่น้ำโขง มีพระธาตุนครประดิษฐาน มีพระคู่บ้านคู่เมืองคือพระติ้วพระเทียม




  • อำเภอปลาปาก เป็นที่ประดิษฐานของ พระธาตุมหาชัย ซึ่งเดิมหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดธาตุมหาชัย




  • อำเภอท่าอุเทน เมืองเก่าริมโขง มีพระธาตุท่าอุเทนซึ้งเป็นที่บรรจุพระอรหันตะธาตุ อัครสาวกของพระพุทธเจ้า เช่น พระอัญญาโกทัณญะ พระโมคคัลลา พระสาลีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น ท่าอุเทนเป็นถิ่นชาวโส้และย้อ และยังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ด้วย




  • อำเภอบ้านแพง อำเภอที่อยู่เหนือสุดของจังหวัด ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งโขง มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ น้ำตกตาดขาม และอุทยานแห่งชาติภูลังกา




  • อำเภอธาตุพนม เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนม เป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัด และอยู่ริมน้ำโขง




  • อำเภอเรณูนคร เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเรณุ และถิ่นดั้งเดิมของชาวผู้ไท (หรือภูไท) และกล่าวขวัญกันว่าเป็นถิ่นสาวงามเมืองเรณู นับเป็นแหล่งวัฒนธรรมชาวไทดำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย




  • อำเภอนาแก สมรภูมิสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่เกิดของ วันเสียงปืนแตก และเป็นที่สร้างวีรบุรุษนาแก ขึ้น




  • อำเภอศรีสงคราม




  • อำเภอนาหว้า




  • อำเภอโพนสวรรค์




  • อำเภอนาทม




  • อำเภอวังยาง อำเภอเล็ก ๆ อยู่ติดกับจังหวัดสกลนคร





  • อุทยาน




  • อุทยานแห่งชาติภูลังกา

    มีน้ำตกตาดขาม ซึ่งเดินทางออกจาตัวอำเภอบ้านแพงเข้าไปในน้ำตกประมาณ 11 กิโลเมตร มีถนนเข้าไปจนถึงน้ำตก

    4 ความคิดเห็น: