วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์


ถิ่นฐาน
ราชอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ก่อตั้งขึ้นตรงดินแดน ๒ ฝั่งแม่น้ำโขง ได้แก่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณจักรสยาม โดยเริ่มตั้งแต่จังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดนครราชสีมา

จังหวัดเพชรบูรณ์ และพื้นที่ใกล้เคียง

ภาคตะวันตกกับภาคเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเริ่มตั้งแต่นครจำปาศักศิ์ ไปจรดกรุงเวียงจันทน์
การปกครอง
ระบบราชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมืองหลวง
สันนิษฐานว่า เดิมทีเมืองหลวง คือ เมืองนครพนม ( จังหวัดนครพนม ) แต่ภายหลังได้สร้างเมืองหลวงใหม่ มีนามว่า " มรุกขนคร " ตั้งอยู่บริเวณเมืองท่าแขก

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
วัฒนธรรม
สันนิษฐานว่า ประชาชนของราชอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมาก โดยเห็นได้จากการก่อสร้างศาสนสถาน ศาสนวัตถุ อาทิเช่น

วัดพระธาตุวรมหาวิหาร พร้อมทั้งมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับศาสนา การเกษตร
วิถีชีวิต
ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร แต่มีการค้าขายบริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยอาศัยการคมนาคมทางน้ำ แต่ที่ราบที่ดอน ใช้เกวียน


 .สมัยก่อนอยุธยา

          
ดินแดนอันเป็นที่ตั้งประเทศไทยปัจจุบัน เดิมคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นถิ่นเดิมของชาวลวะ หรือละว้า ยกเว้นดินแดนทางภาคใต้ซึ่งเป็นอาณาเขตของชาติมอญ อาณาจักรสุวรรณภูมิ แบ่งแยกอำนาจการปกครองออกเป็น 3 อาณาเขต คือ
อาณาเขตทวาราวดี มีเนื้อที่อยู่ในเขตตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาแผ่ออกไปจากชายทะเลตะวันตกของอ่าว ไทยจนถึงชายทะเลตะวันออก มีเมืองนครปฐม เป็นราชธานี

           
อาณาเขตยาง หรือโยนก อยู่ตอนเหนือ ตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเงินยาง
           
อาณาเขตโคตรบูรณ์ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มีเมืองนครพนมเป็นราชธานี

. สมัยกรุงศรีอยุธยา

          
เมืองนครพนม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พอจะรวบรวมได้ความว่าเป็นเมืองสืบเนื่องมาจาก อาณาจักรโคตรบูรณ์ ซึ่งเดิมอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และได้ย้ายมาตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ในราวรัชกาล สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอาณาจักร
โคตรบูรณ์ เป็นแคว้นหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งในสมัยนั้นมีแคว้นต่าง ๆ ตั้งอยู่ลุ่มฝั่งแม่น้ำโขงหลายแคว้น เช่น แคว้นสิบสองจุไทย แคว้นล้านช้าง แคว้นท่าเวียงจันทน์ แคว้นโคตรบูรณ์ แคว้นจำปาศักดิ์ เป็นต้น แต่ละแคว้นมีเจ้านคร เป็นผู้ปกครอง

          
ส่วนตำนานของเมืองโคตรบูรณ์นั้น จากหลักฐานในพงศาวดารเหนือคำให้การของชาวกรุงเก่า พงศาวดารและ เรื่องราวทางอีสาน เขียนเป็นข้อความพาดพิงคล้ายคลึงกับเป็นนิทานปรัมปราสรุปได้ความว่า พระยาโคตรบองมีฤทธิ์ใช้กระบองขว้างพระยาแกรก ผุ้มีบุญซึ่งขี่ม้าเหาะมา ขว้างไม่ถูกจึงหนีไปได้ธิดาพระเจ้าลานช้าง บางฉบับก็ว่าพระยาโคตรบองมาจากลพบุรีบ้าง มาจากเวียงจันทร์ มาจากเมืองระแทงบ้าง มาจากเมืองสวรรค์บุรีบ้าง แต่ในฉบับให้การของชาวกรุงเก่ากล่าวว่า พระยาโคตรบองเป็น โอรสพระร่วง หนีมาจากกรุงสุโขทัย ได้มาครองเมืองลานช้าง ซึ่งสันนิษฐานว่าคงจะได้กับธิดาพระเจ้าเวียงจันทน์ แล้วพระราชธิดา จึงให้มาครองเมืองโคตรบูรณ์ เป็นเมืองหลวงขึ้นแก่นครลานช้าง

          
แต่อีกฉบับเขียนไว้ทางภาคอีสานว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต มีพระราชประสงค์จะให้ราชบุตรองค์หนึ่ง พระนามว่า เจ้าโคตะ (คงเป็นราชบุตรเขย) ครองเมือง จึงได้สร้างเมือง ๆ หนึ่งที่ปากน้ำหินบูน (ตรงข้ามอำเภอท่าอุเทนในปัจจุบัน) ให้ชื่อเมืองศรีโคตรบูรณ์ เป็นเมืองเวียงจันทร์ ตั้งให้เจ้าโคตะเป็นพระยาศรีโคตรบูรณ์ สืบเป็นเจ้าครองนครมาได้หลายพระองค์ จนถึงพระองค์ที่มีฤทธิ์ด้วยกระบอง จึงได้พระนามว่าพระศรีโคตรบอง และได้ย้ายเมืองมาตั้งที่ป่าไม้รวก ห้วยศรีมังริมฝั่งแม่น้ำโขง ฝั่งซ้าย (คือเมืองเก่าใต้เมืองท่าแขกในปัจจุบัน) เมื่อพระยาศรีโคตรบองถึงแก่กรรม เจ้าสุบินราชโอรสพระยาศรีโคตรบองครอบครองนคร สืบแทนว่าพระยาสุมิตรธรรมราช เมื่อถึงแก่อนิจกรรม เจ้าโพธิสารราชโอรสครองนครสืบแทน อำมาตย์ได้ ผลัดเปลี่ยนกันรักษาเมือง

         
จนถึงปีพุทธศักราช 2286 เจ้าเมืองระแทงให้โอรส 2 พระองค์ เสี่ยงบั้งไฟองค์ละกระบอง ถ้าบั้งไฟของใครไปถูกที่ใด จะสร้างเมืองให้ครอง บั้งไฟโอรสองค์ใหญ่ไม่ติดจึงได้เมืองระแทงแทน บั้งไฟองค์เล็กถูกที่ห้วยขวาง (เวลานี้เรียกว่าเมือง เซบั้งไฟ) ใกล้เมืองสร้างก่อและคง เชียงซอนจึงดำรัสสร้างเมืองที่นั่น แต่อำมาตย์คัดค้านว่าทำเลไม่เหมาะสม ประจวบกับขณะนั้นผู้ครอง นครศรีโคตรบูรณ์ว่างอยู่ อำมาตย์จึงเชิญเจ้าองค์นี้ขึ้นครองนครโดยมีพระนามว่า พระยาขัตยวงษาราชบุตร มหาฤาไชยไตรทศฤาเดช เชษฐบุรี ศรีโคตรบูรณ์หลวง ได้ซ่อมแซมบ้าน เมือง วัด จนถึงพุทธศักราช 2297 จึงพิราลัย เจ้าเอวก่านขึ้นครองนครแทน มีพระนามว่า พระบรมราชา ทรงครองนครศรีโคตรบูรณ์ได้ 24 ปี จึงพิราลัย เมื่อพุทธศักราช 2321 ท้าวคำสิงห์ราชบุตรเขยพระบรมราชา ได้นำเครื่อง บรรณาการไปถวายพระเจ้าเวียงจันทน์ พระเจ้าเวียงจันทน์โปรดให้ ท้าวคำสิงห์ครองเมืองโคตรบูรณ์แทนพระบรมราชาและมีพระนามว่า พระนครานุรักษ์ ผู้ครองนครนี้เห็นเมืองศรีโคตรบูรณ์ มิได้ตั้งอยู่ที่ปากน้ำหินบูนอย่าท่าท่อน(คือขณะนี้ตั้งอยู่ที่เมืองเก่าใต้เมือง ท่าแขกปัจจุบัน) จึงให้เปลี่ยนชื่อเมืองเสียงใหม่ เรียกว่า มรุกขะนคร นามเมืองศรีโคตรบูรณ์จึงเลือนหายไปตั้งแต่นั้น



.สมัยกรุงธนบุรี

          
ในปีพุทธศักราช 2321 พระเจ้าศิริบุญสาร แห่งเวียงจันทน์ ได้ยกกองทัพไปตี พระตา พระวอที่บ้านกู่ บ้านแก แขวงจำปาศักดิ์ ฆ่าพระวอตาย พระตาเห็นเหลือกำลัง จึงขอกองทัพกรุงธนบุรีมาช่วย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปปราบได้เมืองเวียงจันทน์ เมืองหนองคาย เมืองมรุกขะนคร ส่วนพระเจ้าศิริบุญสาร แห่งเมืองเวียงจันทน์ และพระบรมราชา เจ้าเมืองมรุกขะนคร หนีไปอยู่เมืองคำเกิด
เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเสร็จจากปราบปรามเมืองเหล่านี้ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง และได้นำบรรดาโอรสพระเจ้าศิริบุญสารลงไปกรุงธนบุรีด้วย


. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

         
ครั้นพุทธศักราช 2325 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ปราบดาภิเษกขึ้นเสวยราชแล้วได้ทรงชุบ เลี้ยงโอรสของพระเจ้าศิริบุญสารอยู่ที่กรุงเทพมหานครเป็นอย่างดี พระเจ้าศิริบุญสาร ซึ่งอยู่ที่เมืองคำเกิด ได้ 5-6 ปีก็ทรงชราภาพ ทราบว่าโอรสอยู่ด้วยความผาสุกจึงเสด็จกลับเวียงจันทน์ หวังจะขอสวามิภักดิ์ต่อพระบาทสมเด็พระพุทธยอดฟ้า(ตามพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขาซึ่งทรงนิพนธ ์โดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า เจ้าศิริบุญสาร กลับจากเมืองคำเกิดจับพระยาสุโภ ซึ่งเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกให้รักษาเมืองอยู่ฆ่าแล้วเข้าตั้งอยู่ในเมืองท้าวเฟี้ย ขุนบางไม่ยินยอมด้วยจึงหนีลงมากรุงเทพฯ กราบทูลฯ ให้ทราบ แต่ไม่ทรงวางพระทัยจึงตั้งให้เจ้านันทเสน โอรสองค์ใหญ่ ของพระเจ้าศิริบุญสารที่อยู่กรุงเทพฯ ให้กลับไปครองเมืองเวียงจันทน์แทน)

        
ครั้นถึงพุทธศักราช 2338 เกิดศึกพม่า ทางเมืองเชียงใหม่ กองทัพไทยต้องไปปราบปราม เจ้านันทเสนกับ พระบรมราชาขออาสาไปในกองทัพ ยกกองทัพไปถึงเมืองเถิน พระบรมราชา (พรหมมา) ก็ถึงแก่อนิจกรรม ท้าวสุดตาซึ่งเป็นโอรส พระบรมราชาจึงนำเครื่องราชบรรณาการเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทที่กรุงเทพฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวสุดตาเป็น พระบรมราชาครองเมือง มรุกขะนคร และให้เปลี่ยนนามเมืองเสียใหม่ว่า "เมืองนครพนม" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ การที่พระราชทานชื่อว่าเมืองนครพนมนั้น อาจเนื่องด้วยเมืองนี้เป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์จึงให้ใช้คำว่า "นคร" ส่วนคำว่า "พนม" นี้นอาจจะเนื่องด้วยจังหวัดนี้มีพระธาตุพนมประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญอีกประการหนึ่ง อาจจะเนื่องด้วยจังหวัดเดิมมีอาณาเขตหินไปถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือบริเวณเขตเมืองท่าแขกแห่งประเทศลาวในปัจจุบัน ซึ่งมีภูเขาสลับซับซ้อนไปถึงแดนประเทศญวน จึงนำเอาคำว่า "พนม" มาใช้เพราะแปลว่า ภูเขา ส่วนคำว่า "นคร" นั้นอาจรักษาชื่อเมืองไว้ คือ เมืองมรุกขะนครนั่นเอง

        
ต่อมาปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ส่วนพระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ และพระบรมราชา เจ้าเมืองมรุกขะนคร หนีไปอยู่เมืองคำเกิด เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เมื่อเสร็จจากปราบปรามเมืองเหล่านี้ โปรดให้พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) เป็นแม่ทัพ ส่วนทางนครเวียงจันทน์ก็ให้พระยาสุโภ เป็นแม่ทัพยกกำลังมาสมทบกองทัพพระยามหาอำมาตย์ เพื่อโจมตีบ้านกวนกู่ กวนงัว ซึ่งเป็นกบฎและเมื่อได้ชัยชนะจึงกวาดต้อนครอบครัวมาไว้ที่เมืองนครพนม มาตั้งที่บ้านโพธิ์ค้ำ หรือโพธิ์คำ (เข้าใจกันว่าคงจะเป็นคุ้มบ้านใต้ เมืองนครพนมนี่เอง)

        
จนกระทั่งถึงพุทธศักราช 2426 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวบุญมากเป็นพระพนมนครานุรักษ์ดำรงตำแหน่งเจ้า เมืองนครพนม อยู่ได้ 7 ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ราชบุตรทองทิพย์บุตรพระพนมนครานุรักษ์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทน และในปีพุทธศักราช 2434 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองใหม่ โดยเริ่มแบ่งการปกครองออกเป็นมณฑล มีมณฑลลาว (เขตอุบลราชธานีปัจจุบัน) มณฑลลาวเฉลียง (เขตเชียงใหม่) และมลฑลลาวพวน เป็นต้น เมืองนครพนมขึ้นอยู่ในเขตปกครอง มณฑลลาวพวน ซึ่งตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองหนองคาย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงต่างพระองค์เป็น ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวพวน ประทับอยู่ ณ เมืองหนองคาย



         ต่อมาในปีพุทธศักราช 2442 ได้ปรับปรุงระเบียบการปกครอง ข้อบังคับการปกครองหัวเมืองโดยแต่งตั้ง ให้มีผู้ว่าราชการเมือง และกรมการเมือง คือแทนที่จะเรียกว่าอุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร ดังแต่ก่อน พร้อมได้แต่งตั้งตำแหน่ง กรมการในทำเนียบขึ้น เรียกว่าปลัดเมือง ยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการพร้อมได้แต่งตั้งกรรมการในทำเนียบขึ้น เรียกว่า เมืองยกกระบัตรเมือง ผู้ช่วยราชการเมือง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาตโต๊ะเป็นพระพิทักษ์พนมนคร ดำรงตำแหน่งปลัดเมือง ส่วนข้าราชการประจำบริเวณซึ่งเป็นข้าราชการที่กระทรวงมหาดไทย ส่งมาประจำนั้น การทำหน้าที่เป็นข้าหลวงดูแลราชการเมือง ควบคุมและให้ข้อปรึกษา แนะนำผู้ว่าราชการเมือง กรมการเมือง ปรับปรุงการงานให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน ที่จัดและเปลี่ยนแปลงใหม่ เมื่อพุทธศักราช 2454 พระวิจิตรคุณสาร (อุ้ย นาครทรรพ) ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองนครพนม ภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นพระยาพนมนครานุรักษ์ ต่อมาทางราชการได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 จัดระเบียบบรหารราชการส่วนภูมิภาคใหม่ มีมณฑลจังหวัด อำเภอและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ฉะนั้น พระยาพนมนครานุรักษ์ (อุ้ย นาครทรรพ) จึงนับว่าเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมคนแรก...

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติพระธาตุพนม

บริเวณด้านหน้า วัดพระธาตุพนม


องค์พระธาตุพนมล่ม  พ.ศ. 2518

ผอูบ บรรจุพระอุรังคธาตุ  (เก่า)

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม
ประวัติ
ตามตำนานอุรังคธาตุ กล่าวว่า ท้าวพญาทั้งห้าผู้เป็นใหญ่ ได้แก่พญาสุวรรณภิงคาร เจ้าเมืองหนองหานหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหานน้อย พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองจุลนีพรหมทัต พญาอินทรปัตถ์ เจ้าเมืองอินทปัตถนคร และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรณ์อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ ได้สร้างอูบมูงขึ้นเพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุ ตามพุทธพยากรณ์ โดยก่อสร้างด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ฐานพระธาตุพนมได้ขุดลงไปจนเป็นอูบมุง (อุโมง) เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กระดูกส่วนหน้าอก เมื่อก่อด้วยดินดิบเสร็จแล้ว จึงได้ก่อไฟเผาพระธาตุเป็นเวลากว่าหลายวัน อิฐจึงได้แห้งสนิทจรดกัน ในพระธาตุพนม บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งประมาณ พ.ศ. 8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญมา และพระมหากัสสปะเถระได้นำมาประดิษฐานไว้บนภูกำพร้า ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ พระธาตุพนมได้รับการบูรณะและอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง
พ.ศ. 2223-2225 และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน
พ.ศ. 2233 พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้น
พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม
พ.ศ. 2522 การบูรณะโดยภาครัฐและเอกชน
เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร" ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดั่งเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม

ในพ.ศ.8 พระอุตรเถระและพระโสณเถระ พระเจ้าอโศกมหาราช ยังไม่ประสูติเลยพระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
ใครว่าพระอุตรเถระและพระโสณเถระ สมรทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุมานั้นไม่จริง เพราะระยะเวลาหากกัน ตั้ง 200 กว่าปีที่ท่านทั้งสองจะเกิด คนที่เป็นคนนำพระอุรังคธาตุมานั้น คือ พระมหากัสสปะ คนเดียวกันกับพระมหากัสสปะเถระที่เป็นประธานทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก หลังจากที่ท่านทำสังคายนาแล้วจึงได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุมาประดิษฐานที่ดอยกปณคีรี หรือภูกำพร้า สมัยก่อนเป็นภูหรือดอย เดี่ยวๆ ที่ราบของภูพานในสมัยก่อนนั้น แม่น้ำโขงเป็นที่สัญจรไปมาของเรือสำเภาที่ไปมาค้าขายของคนอินเดีย จีน หลังจากที่พุทธองค์ได้ตรัสบอกพระมหากัสสปะว่า หลังจากที่เราปรินิพพานไปแล้ว ให้นำพระอุระส่วนหัวอกของเราไปปดิษฐานที่ภูกำพร้า เพราะพระพุทธเจ้าในอดีตหลังจากที่ท่านประรินิพพานแล้วก็ทรงนำเอาพระอุระมาประดิษฐานที่นี่เหมือนกัน เพื่อเป็นที่เทวดา นาค คนธ์ มนุษย์ได้ สักการะบูชา สืบไป ฉะนั้นพระธาตุพนมจึงเป็นพระธาตุที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศแถบสุวรรณภูมิเสียอีก ใครบอกว่าพระเจดีย์ที่เก่าแก่คือ พระปฐมเจดีย์ที่ จังหวัดนครปฐมนั้นไม่จิง และที่พระเจดีที่จังหวัดนครศรีธรรมราชนั้นก็ไม่จิง เพราะพระเจดีย์พ่งเข้ามามีอิทธิพลก็ต่อเมื่อพระพุทธศาสนาได้เข้ามาแล้วแล้วเท่านั้น แต่เจดีย์ทั้งสองพึ่งสร้างในสมัยพระอุตรเถระและพระโสณเถระ ที่พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งมาแล้วหรือหากมันคลาดเคลื่อนก็แต่ อาจสร้างหลังจากที่ท่านทั้งสองประดิษฐานพระศาสนาไปแล้วกว่าร้อยปีประมาณนี้ ใครที่บอกว่าพระเจดีย์ที่สร้างในแถบสุวรรณภูมิที่เก่าที่สุดไม่ใช่พระธาตุพนมฯ ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน หรือนักโบราณคดีนั้นศึกษาไม่เพียงพอหรือมั่วซั่ว เพราะข้อมูลที่เราพบและเอกสารหลักศิลาหรือศิลาจารึกที่เก็บไว้ในพระเจดีย์ ในตอนที่พระธาตุพนมพังลงมานั้น ข้อมูลทุกอย่างสั่นคลอนการศึกษาของนักโบราณคดีไทยและเทศอย่าง จนรับไม่ได้กับการศึกษาที่มีมาก่อนหน้านั้น นักโบราณคดีของไทยมีการศึกษาที่ทำให้ข้อมูลทางโบราณของไทยนั้นเสือมค่าลงมาก จากสิ่งที่มีมานานนับพันปี กลับตีค่าลงมาเป็นแค่วัตถุโบราณที่มีมาไม่เกิน 500 ปีเท่านั้นเอง เป้นไปได้ว่านักโบราณคดีนั้นต้องการให้วัฒนธรรมในแถบอีสานให้กลายเป็นวัฒนธรรมที่เกิดที่หลังในแถบภาคกลางของไทย จริงๆ แล้ววัฒนธรรมโบราณที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย คือ วัฒนธรรมในแถบภาคอีสานนั้นเอง ที่นักโบราณคดีไทยไม่ประกาศแบบนันก็เปนเพราะจะไปทำให้ข้อมูลที่ตนเองศึกษามาก่อนหน้านั้นลดความน่าเชื่อถือลง จึงกุข้อมูลที่ไม่จริงหรือบอกข้อมูลที่ตรงลงไปแก่คนที่ไทยที่ไร้วิจารณญาณ
บ่อน้ำวัดพระธาตุพนม
น้ำบ่อวัดพระธาตุพนม ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุ บริเวณกำแพงชั้นนอก ห่างจากพระธาตุพนมประมาณ 30 วา (60 เมตร) บ่อ กว้าง 1.50 เมตร ลึก 10 เมตร กรุข้างบ่อด้วยไม้แดง บ่อน้ำเก่าแก่ น้ำใส รสจืดสนิท และมีน้ำอยู่ตลอดปี ราษฎรส่วนมากใช้น้ำในบ่อนี้เป็นน้ำดื่ม และใช้เป็นน้ำอภิเษกของจังหวัดนครพนมมีอยู่เพียงแห่งเดียว สถานที่ประกอบพิธีน้ำอภิเษก คือ บ่อน้ำพระอินทร์บริเวณพระธาตุพนม

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ นคพนม

ประวัติจังหวัดนครพนม
จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดเล็ก ๆ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ “ป่าไม้รวก” มีนามว่า “เมืองมรุกขนคร” ซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง

ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดนครพนมมีเนื้อที่ประมาณ 5,512.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,445,414.32 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 140 เมตร ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 740 กิโลเมตร
จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดชายแดน ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนบน) ของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแนวยาวตามฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 153 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 16-18 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 104-105 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
• ทิศเหนือติดอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
• ทิศตะวันออกติดแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นแนวกั้นพรมแดน
• ทิศใตติดอำเภอดงหลวง และอำเภอหว้าใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร
• ทิศตะวันตกติดอำเภอกุสุมาลย์ อำเภออากาศอำนวย และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิประเทศ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
• ตอนเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบ ทางตอนกลางและตะวันตกของพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มมีลักษณะเป็นทุ่งกว้างซึ่งปีใดมีฝนตกชุกจะมีสภาพน้ำท่วมขัง
• ตอนใต้

พื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ำโขงเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมถึงส่วนทางทิศตะวันตกซึ่งอยู่ห่างออกไปพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น และที่ดอนสภาพป่าเป็นไม้เต็งรัง พื้นดินส่วนมากเป็นหินลูกรัง บางส่วนมีลักษณะเป็นเนินและที่ต่ำสลับกัน
ลักษณะภูมิอากาศ
โดยทั่วไป จังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝน ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ รวมทั้งอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ซึ่งในปี 2549 มีฝนตกประมาณ 139 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,189.5 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 10.5 องศาเซลเซียส
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงสระบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 107 แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่านจังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 213 แล้วแยกขวาเข้าสู่จังหวัดกาฬสินธุ์และผ่านจังหวัดสกลนคร ตรงเข้าสู่จังหวัดนครพนม ตามทางหลวงหมายเลข 22 รวมระยะทางประมาณ 740 กิโลเมตร
รถโดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-นครพนม มีรถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน สอบถามรายละเอียดที่ โทร. 0 2936 2852-66 นครพนม โทร. 0 4251 1403 สำหรับบริษัทเอกชนติดต่อ บริษัท แสงประทีปเดินรถ จำกัด โทร. 0 4252 0411 บริษัท ชัยสิทธิ์ จำกัด โทร. 0 4252 0561 และบริษัท เชิดชัย ทัวร์ จำกัด โทร. 0 4251 2098, 08 6225 6063
เครื่องบิน บริษัท พี บี แอร์ จำกัด เปิดบริการเที่ยวบินไปจังหวัดนครพนมทุกวัน สอบถามรายละเอียดโทร. 0 4258 7207 กรุงเทพฯ โทร. 0 2261 0220-5 www.pbair.com หรือสามารถสำรองที่นั่งได้ที่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2356 1111, 0 2628 2000 www.thaiairways.com การเดินทางในตัวเมืองยังไม่มีรถโดยสาร หรือรถสองแถวประจำทางมีเพียงรถสามล้อเครื่อง (รถสกายแล็ป) เท่านั้น ราคาแล้วแต่จะตกลงกัน ส่วนใหญ่จะเริ่มตั้งแต่ราคา 20 บาท แล้วแต่ระยะทาง
ระยะทางจากตัวเมืองนครพนมไปยังอำเภอต่าง ๆ ระยะทางจากจังหวัดนครพนมไปยังจังหวัดใกล้เคียง
อำเภอ
จังหวัด
  1. • อำเภอเมือง 0 กิโลเมตร
  2. • ปลาปาก 44 กิโลเมตร
  3. • ท่าอุเทน 26 กิโลเมตร
  4. • บ้านแพง 93 กิโลเมตร
  5. • ธาตุพนม 52 กิโลเมตร
  6. • เรณูนคร 51 กิโลเมตร
  7. • นาหว้า 93 กิโลเมตร
  8. • ศรีสงคราม 67 กิโลเมตร
  9. • นาแก 78 กิโลเมตร
  10. • โพนสวรรค์ 45 กิโลเมตร
  11. • นาทม 130 กิโลเมตร
  12. • วังยาง 80 กิโลเมตร
• สกลนคร 93 กิโลเมตร
• มุกดาหาร 104 กิโลเมตร
• อุบลราชธานี 271 กิโลเมตร
• ขอนแก่น 298 กิโลเมตร
• หนองคาย 303 กิโลเมตร

การปกครองและประชากร
ในปี 2550 จังหวัดนครพนมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ 99 ตำบล 1,123 หมู่บ้าน โดยมีอำเภอดังนี้ อำเภอเมืองนครพนม อำเภอท่าอุเทน อำเภอธาตุพนม อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอบ้านแพง อำเภอปลาปาก อำเภอโพนสวรรค์ อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาทม และอำเภอวังยาง
การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง 1 แห่ง เทศบาลตำบล 9 แห่ง และมีองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 93 แห่ง จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปี 2549 จังหวัดนครพนมมีจำนวนประชากร ทั้งสิ้น 695,351 คน เป็นชาย 346,321 คน และหญิง 349,030 คน ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลมีจำนวนประชากร 88,531 คน คิดเป็นร้อยละ 12.7 ของประชากรทั้งหมด ส่วนที่เหลือ 606,820 คน หรือร้อยละ 87.3 อาศัยอยู่นอกเขตเทศบาล ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 126 คนต่อตารางกิโลเมตร
ทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำ แม่น้ำที่สำคัญของจังหวัดนครพนม ได้แก่
แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่มีความลึกและยาวมาก เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยถือเอาร่องน้ำลึกเป็นแนวเขต
ลำน้ำสงครามต้นกำเนิดในท้องที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ไหลผ่านท้องที่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอศรีสงคราม และไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน
ลำน้ำยามต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนครไหลผ่านท้องที่ อำเภอศรีสงครามมาบรรจบ ลำน้ำสงครามที่บ้านปากยาม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม
ลำน้ำก่ำต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดนครพนม ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่ตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม
ลำน้ำอูนต้นกำเนิดในท้องที่จังหวัดสกลนคร เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอท่าอุเทนกับอำเภอศรีสงคราม
เทือกเขาเทือกเขาที่สำคัญของจังหวัดนครพนม คือ เทือกเขาภูลังกา ซึ่งทอดผ่านเขตอำเภอบ้านแพง และเลยเข้าไปในเขตอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
สภาพทางเศรษฐกิจ
ในปี 2549 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดนครพนมในราคาประจำปีเท่ากับ 21,115 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัวเท่ากับ 36,947 บาท สาขาการผลิตที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดมากที่สุดคือ สาขาเกษตรกรรม ร้อยละ 31.8 คิดเป็นมูลค่า 6,722 ล้านบาท รองลงมาคือ สาขาการค้าส่งและค้าปลีกร้อยละ 17.8 คิดเป็นมูลค่า 3,750 ล้านบาท อันดับสามได้แก่ สาขาการศึกษา ร้อยละ 13.0 คิดเป็นมูลค่า 2,735 ล้านบาท
การคมนาคมและขนส่ง
การคมนาคมและขนส่งของจังหวัดนครพนม สามารถติดต่อได้ 3 ทาง
• ทางบกมีทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัด สำหรับใช้เดินทางติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้สะดวก
• ทางอากาศมีสนามบินสำหรับขนส่งผู้โดยสารและสินค้า อยู่ห่างจากจังหวัด 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางนครพนม - สกลนคร
• ทางน้ำมีเรือยนต์ข้ามฟากระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวที่ด่านศุลกากรอำเภอเมืองนครพนม จุดผ่อนปรนที่อำเภอธาตุพนม และอำเภออื่น ๆ ที่มีเขตติดกับแม่น้ำโขง
การศึกษา สาธารณสุข และการสาธารณูปโภค
ในปีการศึกษา 2548 จังหวัดนครพนม มีโรงเรียน 539 แห่ง ครู 6,315 คน และนักเรียน 128,457 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อห้องเรียนประมาณ 23 คน อัตราส่วนนักเรียนต่อครูประมาณ 20 คน
ด้านสาธารณสุข ในปีงบประมาณ 2549 มีโรงพยาบาลรัฐบาล 12 แห่ง สถานีอนามัย 151 แห่ง คลีนิค 99 แห่ง แพทย์ 48 คน ทันตแพทย์ 21 คน เภสัชกร 46 คน และพยาบาล 716 คน มีจำนวนผู้ป่วย 381,599 คน แยกเป็นผู้ป่วยใน 64,335 คน และผู้ป่วยนอก 317,264 คน
ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวน 157,651 ราย มีการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทั้งสิ้น 207.95 ล้านยูนิต
ด้านการประปา มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 14,256,900 ลูกบาศก์เมตร ผลิตน้ำได้ 5,904,640 ลูกบาศก์เมตร และมีผู้ใช้น้ำประปาจำนวน 22,262 ราย
ในปีงบประมาณ 2549 จังหวัดนครพนมมีชุมสายโทรศัพท์จำนวน 20 แห่ง รวม 28,253 เลขหมาย และมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 10 แห่ง มีการขนส่งไปรษณียภัณฑ์รวมทั้งสิ้น 2,127,410 ชิ้น
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 12 อำเภอ 97 ตำบล 1040 หมู่บ้าน

  • อำเภอเมืองนครพนม เมืองสุขสงบติดริมแม่น้ำโขง มีพระธาตุนครประดิษฐาน มีพระคู่บ้านคู่เมืองคือพระติ้วพระเทียม




  • อำเภอปลาปาก เป็นที่ประดิษฐานของ พระธาตุมหาชัย ซึ่งเดิมหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญเคยเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดธาตุมหาชัย




  • อำเภอท่าอุเทน เมืองเก่าริมโขง มีพระธาตุท่าอุเทนซึ้งเป็นที่บรรจุพระอรหันตะธาตุ อัครสาวกของพระพุทธเจ้า เช่น พระอัญญาโกทัณญะ พระโมคคัลลา พระสาลีบุตร พระอานนท์ เป็นต้น ท่าอุเทนเป็นถิ่นชาวโส้และย้อ และยังมีรอยเท้าไดโนเสาร์ด้วย




  • อำเภอบ้านแพง อำเภอที่อยู่เหนือสุดของจังหวัด ตัวเมืองอยู่ริมฝั่งโขง มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือ น้ำตกตาดขาม และอุทยานแห่งชาติภูลังกา




  • อำเภอธาตุพนม เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนม เป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัด และอยู่ริมน้ำโขง




  • อำเภอเรณูนคร เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุเรณุ และถิ่นดั้งเดิมของชาวผู้ไท (หรือภูไท) และกล่าวขวัญกันว่าเป็นถิ่นสาวงามเมืองเรณู นับเป็นแหล่งวัฒนธรรมชาวไทดำที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย




  • อำเภอนาแก สมรภูมิสำคัญอีกแห่งหนึ่ง เป็นที่เกิดของ วันเสียงปืนแตก และเป็นที่สร้างวีรบุรุษนาแก ขึ้น




  • อำเภอศรีสงคราม




  • อำเภอนาหว้า




  • อำเภอโพนสวรรค์




  • อำเภอนาทม




  • อำเภอวังยาง อำเภอเล็ก ๆ อยู่ติดกับจังหวัดสกลนคร





  • อุทยาน




  • อุทยานแห่งชาติภูลังกา

    มีน้ำตกตาดขาม ซึ่งเดินทางออกจาตัวอำเภอบ้านแพงเข้าไปในน้ำตกประมาณ 11 กิโลเมตร มีถนนเข้าไปจนถึงน้ำตก